ปลัด

สายตรงนายก

ร้องเรียนร้องทุกข์



ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

แบบสำรวจ

ลงทะเบียนสถานประกอบการที่พัก

คู่มือประชาชน

สำรวจความคิดเห็น

บริการปรึกษาข้อกฏหมายท้องถิ่น

Tourist Infomation Online

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่

ข่าวสารอาเซียน

ระบบบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุ

ตรวจเช็คอีเมล

ระบบจัดการบริหารเว็บไซต์

EGP

ชำระภาษี ของ ชม.



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 24/07/2557
วันนี้
63
เมื่อวานนี้
93
เดือนนี้
3,928
เดือนที่แล้ว
5,252
ปีนี้
36,824
ปีที่แล้ว
33,887
ทั้งหมด
203,154
ไอพี ของคุณ
3.239.2.192
รอยพระพุทธหัตถ์ ถ้ำผาต๊ะ
   ในครั้งพุทธกาล ท่านได้เดินธุดงค์มาประเทศไทยเพื่อมาโปรดเมตตาและแสดงธรรมให้แก่ชาวโลกและเผยแผ่ศาสนา ท่านได้เดินทางมาถึงในป่าเขาแห่งนี้ ท่านก็เล็งเห็นอนาคตข้างหน้า ถิ่นนี้จะเป็นหมู่บ้านชาวไทยนับถือศาสนาพุทธ ท่านก็อธิฐานสัจจะบารมีเอามือขึ้นประทับแผ่นหินนี้ไว้เพื่อเป็นนิมิตรหมายแก่คนและเทวดา สืบทอดศาสนาต่อไป ถ้ำผาต๊ะมีความหมายแก่คนโป่งแยงอย่างไร ขอบอกกล่าวเป็นนัยๆว่า ถ้ำคือรู หรือป่อง ผาคือหินผาที่ดูเรียบร้อย ต๊ะ คือรอยมือพระพุทธเจ้า บ้านโป่งแยง มาจากคำว่า ป่องแยง มาดูรอยพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า  คำไหว้พระหัตถ์ ว่านโม 3 จบ อะหัง ภันเต พระหัสถังพุทธปรินิพพุตัมปิ ตังภะคะวันตัง สะระฯง คัจฉามิ อะภิวาเทมิ ฯ ว่า 3 จบ
   “รอยพระพุทธหัตถ์ ถ้ำผาต๊ะ” ตั้งอยู่ หมู่บ้านโป่งแยงนอก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ห่างจากทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริมสะเมิง จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยงประมาณ 3  กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงโดย รถกระบะ หรือรถยนต์ที่ท้องรถไม่ต่ำมอเตอร์ไซค์ หรือ จักรยานสามารถเดินทางเข้าถึงได้ ในฤดูฝนต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินทางเล็กน้อย เนื่องจากทางเข้ายังลูกรังบางจุดและมีความลาดชัน ที่ รอยพระพุทธหัตถ์ ถ้ำผาต๊ะ  มีความงดงามทางธรรมชาติ มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ยังมีประวัติศาสตร์   และตำนาน ที่เล่าขานกันมานาน   ซึ่งกล่าวถึง เรื่องราวตำนานของ ขุนหลวงวิรังคะ ที่เล่าสืบต่อกันมา และ   ยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม สามารถมองเห็นตัวตำบลโป่งแยง  ซึ่งเป็นจุดที่สวยงามจุดหนึ่งของตำบล บริเวณดังกล่าว  ยังมีความร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนและการนั่งสมาธิ นักท่องเที่ยวจะได้กราบสักการะ รอยพระพุทธหัตถ์ขนาดใหญ่และยังสามารถเข้าไปเยี่ยมชม ถ้ำที่ชาวบ้านได้ ตั้งชื่อว่า ถ้ำผาต๊ะ ตามชื่อ ของรอยพระพุทธหัตถ์ซึ่งมีลักษณะทาบลงบนหินขนาดใหญ่ จึงเรียกขานว่า “ผาต๊ะ” ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น ตามกิริยา คือการเอาไปทาบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องเป็นมือเท่านั้น ซึ่งผู้พบเห็นจะมีความรู้สึกอัศจรรย์เป็นอย่างมาก ซึ่งหาไม่ได้มากนักในเมืองไทย ภายในถ้ำผาต๊ะ แบ่งออกเป็นสามถ้ำเล็กตาม ลักษณะของหินงอกหินงอยที่เกิดจากความสวยงามทางธรรมชาติ นั้นคือ ถ้ำกุบ  (หมวก) ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน แต่ละถ้ำมีความสวยงามแตกต่างกัน มีหินงอกหินย้อย เป็นรูปร่างต่างๆ 
 
ข้อมูลบางส่วนโดย นายสุวิทย์ สุริเย วันที่ 26 มิถุนายน 2557 

 
10 กรกฎาคม 2557