![]() | ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวประจำตำบลโป่งแยง ให้บริการทางด้านข้อมุลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยว ทั้งข้อมุลแบบ online และ off line และอีกหนึ่งช่องทางผ่าน line official โดย @ได้ที่ ID : @243qgsed 05 สิงหาคม 2563 |
![]() | 23 กรกฎาคม 2563 |
![]() | 10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | 10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | วัดโป่งแยงเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่เลขที่ 96 หมู่ที่ 2 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2550 เดิมชื่อ วัดโป่งแยง ชาวบ้านเรียกว่า วัดโป่งแยงนอก ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้นให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดโป่งแยงเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2544 ได้น้อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพื้นที่ตั้งวัดทั้งหมด 17 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา (รวมที่ตั้งโรงเรียนประถมศึกษา) มีที่ธรณีสงฆ์ 2 งาน 49 ตารางวา (ที่ตั้งศูนย์อบรมเด็กเกณฑ์ในวัด) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.2539 ปัจจุบันมีพระภิกษุ จำนวน 5 รูป สามเณร จำนวน 5 รูป รวม 10 รูป มีพระครูวิสิฐปัญญาวัฒน์ (องค์ที่ 18) เป็นเจ้าอาวาส ตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลโป่งแยง และพระอุปัชฌาย์ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย 10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | Tune In Garden “สวนทูนอิน” ร้านอาหารนี้มีชื่อมาจากคำว่า Turn on, Tune in และ Drop out สถานที่พำนักและสร้างสรรค์ของคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนแนวหน้าของไทยที่จากลาไปแล้วกว่า 2 ปี เป็นที่พำนักยาวนาน เป็นรังสุดท้าย เป็นที่สร้างสรรค์งานมากมายวันแล้ววันเล่า กระทั่งจากไป “ทูน อิน มันก็มาจากคาถาของพวกฮิปปี้ ทูนอินเวลาออกเสียงเป็นภาษาไทย ฟังดูสำเนียงมันออกจะเหนือๆ อยู่เหมือนกันง โดยความหมายก็คือการเอาตัวเข้าไปสู่กระแสธรรมอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่เป็นธรรมชาติ” ปัจจุบันสวนทูนอินอยู่ในความดูแลของคุณติ๋ม สุมาลี วงษ์สวรรค์ และได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนสถานที่แห่งความทรงจำแห่งนี้ให้กลายเป็นร้านอาหาร ทุกเมนูของที่นี้การันตีได้ถึงความอร่อย ไม่ว่าจะเป็นม้าห่อ พระรามลงทรง แลาทูทอดแกล้มผักบุ้งไทย กับน้ำพริกเผา หมี่กะทิอุบล แกงส้มเปลือกแตงโม อาหารทุกจานคือเมนูที่ทำรับประทานกันในครอบครัวและเคล็ดลับสืบทอดต่อกันมาเนิ่นนาน ส่วนวัตถุดิบประเภทพืช ผัก ก็สดสะอาดปลอดภัย เพราะปลูกเอง และหาได้ในสวนป่าละแวกบ้านที่เต็มไปด้วยพรรณไม้แสนร่มรื่นย์ จะมองไปทางไหนก็รู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของเจ้าของบ้านที่มีให้ สิ่งที่ตรึงใจไว้ไม่ใช่รสชาติอร่อยล้ำจากสุดยอดเชฟมีชื่อแต่อย่างใดเป็นความน่ารักของคนปรุงที่มานั่งเล่าเรื่องราวกับข้าวที่ทำอย่างสุขใจให้ฟังต่างหาก ใครอยากชิมอาหารและสัมผัสบรรยากาศรังพญาอินทรีย์ในสวนอักษรแห่งนี้ เขาขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่โทรสั่งจองล่วงหน้าเท่านั้น โทร 053-879-251 มือถือ 087-185-2951 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ http://www.iurban.in.th/greenery/tune-in-graden/ 10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | ในครั้งพุทธกาล ท่านได้เดินธุดงค์มาประเทศไทยเพื่อมาโปรดเมตตาและแสดงธรรมให้แก่ชาวโลกและเผยแผ่ศาสนา ท่านได้เดินทางมาถึงในป่าเขาแห่งนี้ ท่านก็เล็งเห็นอนาคตข้างหน้า ถิ่นนี้จะเป็นหมู่บ้านชาวไทยนับถือศาสนาพุทธ ท่านก็อธิฐานสัจจะบารมีเอามือขึ้นประทับแผ่นหินนี้ไว้เพื่อเป็นนิมิตรหมายแก่คนและเทวดา สืบทอดศาสนาต่อไป ถ้ำผาต๊ะมีความหมายแก่คนโป่งแยงอย่างไร ขอบอกกล่าวเป็นนัยๆว่า ถ้ำคือรู หรือป่อง ผาคือหินผาที่ดูเรียบร้อย ต๊ะ คือรอยมือพระพุทธเจ้า บ้านโป่งแยง มาจากคำว่า ป่องแยง มาดูรอยพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า คำไหว้พระหัตถ์ ว่านโม 3 จบ อะหัง ภันเต พระหัสถังพุทธปรินิพพุตัมปิ ตังภะคะวันตัง สะระฯง คัจฉามิ อะภิวาเทมิ ฯ ว่า 3 จบ
“รอยพระพุทธหัตถ์ ถ้ำผาต๊ะ” ตั้งอยู่ หมู่บ้านโป่งแยงนอก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ห่างจากทางหลวงหมายเลข 1096 แม่ริมสะเมิง จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยงประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงโดย รถกระบะ หรือรถยนต์ที่ท้องรถไม่ต่ำมอเตอร์ไซค์ หรือ จักรยานสามารถเดินทางเข้าถึงได้ ในฤดูฝนต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินทางเล็กน้อย เนื่องจากทางเข้ายังลูกรังบางจุดและมีความลาดชัน ที่ รอยพระพุทธหัตถ์ ถ้ำผาต๊ะ มีความงดงามทางธรรมชาติ มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ยังมีประวัติศาสตร์ และตำนาน ที่เล่าขานกันมานาน ซึ่งกล่าวถึง เรื่องราวตำนานของ ขุนหลวงวิรังคะ ที่เล่าสืบต่อกันมา และ ยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม สามารถมองเห็นตัวตำบลโป่งแยง ซึ่งเป็นจุดที่สวยงามจุดหนึ่งของตำบล บริเวณดังกล่าว ยังมีความร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนและการนั่งสมาธิ นักท่องเที่ยวจะได้กราบสักการะ รอยพระพุทธหัตถ์ขนาดใหญ่และยังสามารถเข้าไปเยี่ยมชม ถ้ำที่ชาวบ้านได้ ตั้งชื่อว่า ถ้ำผาต๊ะ ตามชื่อ ของรอยพระพุทธหัตถ์ซึ่งมีลักษณะทาบลงบนหินขนาดใหญ่ จึงเรียกขานว่า “ผาต๊ะ” ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น ตามกิริยา คือการเอาไปทาบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องเป็นมือเท่านั้น ซึ่งผู้พบเห็นจะมีความรู้สึกอัศจรรย์เป็นอย่างมาก ซึ่งหาไม่ได้มากนักในเมืองไทย ภายในถ้ำผาต๊ะ แบ่งออกเป็นสามถ้ำเล็กตาม ลักษณะของหินงอกหินงอยที่เกิดจากความสวยงามทางธรรมชาติ นั้นคือ ถ้ำกุบ (หมวก) ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน แต่ละถ้ำมีความสวยงามแตกต่างกัน มีหินงอกหินย้อย เป็นรูปร่างต่างๆ
ข้อมูลบางส่วนโดย นายสุวิทย์ สุริเย วันที่ 26 มิถุนายน 2557
10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | 10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าม้ง บ้านแม่สาใหม่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ประชากรทั้งหมดเป็นชาวม้ง ตั้งอยู่ หมู่ 6 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประจำวันสมัยก่อนของชาวม้ง โดยมีผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ฯเป็นผู้ให้คำแนะนำข้อมูล นอกจากการศึกษาข้อมูลการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวม้งแล้ว ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวโดยการนำชมสถานที่ต่างๆ ชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ชาวม้ง และงานฝีมือเช่น การปักผ้าลายม้า ผ้าเขียนเทียน ผ้าที่ทอนำมาจากใยกัญชงซึ่งเป็นภูมิปัญญาชนเผ่าที่สืบทอดกันมาเป็นหลายชั่วอายุคน เครื่องเงินชาวเขานักท่องเที่ยวสามารถมาเยี่ยมชมได้ เพราะชาวบ้านที่นี่จะทำงานฝีมือกันทุกบ้าน เพื่อจะได้นำไปใส่ในงานประเพณีปีใหม่ม้งช่วงสิ้นปี ตามความเชื่อที่ว่า ถ้ามีงานขึ้นปีใหม่ ต้องใส่เสื้อผ้าใหม่ เพื่อจะได้เกิดความเป็นมงคลกับชีวิต จะได้เจอกับสิ่งที่ดี นอกจากนี้บ้านแม่สาใหม่ ยังมีโฮมสเตย์ ไว้คอยบริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจอยากสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวม้ง อัตราค่าบริการที่พักของโฮมสเตย์บ้านแม่สาใหม่ จะอยู่ที่ 300 บาท/คน/คืน รวมค่าอาหารเช้าและอาหารเย็น โฮมสเตย์ของที่นี่จะเป็นบ้านแบบดั้งเดิมของชาวม้ง ทำจากวัสดุธรรมชาติ ที่พิเศษคือ พื้นของบ้านจะเป็นพื้นดิน ไม่มีปูพื้นซีเมนต์ หรือปูกระเบื้อง นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวม้งที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย เพิ่มสีสันและความประทับใจให้กับชีวิต หากท่านใดสนใจและอยากลองเปลี่ยนบรรยากาศการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ เป็นวิถีชีวิตเรียบง่าย สงบเงียบ ของชาวม้ง ชื่นชมความสวยงามและบริสุทธิ์ของอากาศธรรมชาติที่บ้านแม่สาใหม่ เชิญแวะชมแวะเที่ยวและพักผ่อนที่โฮมสเตย์ได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้และโฮมสเตย์บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ติดต่อ คุณเสกสิทธิ์ 084-4852571 และหากสนใจในการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผู้เขียนแนะนำที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลโป่งแยง ก่อนเข้าหมู่บ้านแม่สาใหม่ เป็นสถานีที่ดำเนินการทดลองวิจัยและผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักเมืองหนาว และส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรชาวเขาให้มีรายได้ ปลูกผักผลไม้ เช่น มะเขือเทศ พริกหวาน องุ่น อะโวคาโด เป็นต้น ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่แห่งนี้ ยังมีที่พักไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว ที่มาแวะเยี่ยมชมและศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บริเวณที่พักจะเงียบสงบ อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีบ้านพักทั้งหมด 3 หลัง ภายในห้องพักมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น กาต้มน้ำ เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น และยังมีบริเวณลานกางเต็นท์ใต้ร่มไม้ ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติที่สดชื่น ในเรื่องการติดต่อสื่อสาร และเทคโนโลยี ประเภท โทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ต ที่บ้านแม่สาใหม่อาจจะไม่ได้รับความสะดวกสบายมากนัก เพราะลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขา มีความลาดชันค่อนข้างสูง แต่ความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้นมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ รายละเอียดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการเข้าพัก ภายในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ 089-8519922 ข้อมูลจาก : http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1015 10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | ผานกกกเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้งตั้งบ้านเรือนตามเนินเขาซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,000 เมตร จึงมีบรรยากาศเย็นสบาย และอากาศค่อนข้างหนาวในช่วงฤดูหนาว สภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นสภาพป่าดิบชื้น และป่าดิบแห้งมีพันธุ์ไม้หลากหลายมีพืชสมุนไพรตามป่าบ้านผานกกกพบกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมประเพณีของม้ง และสามารถร่วมสนุกกับกิจกรรม ชมกิจกรรมภาคกลางวัน ได้แก่ ล้อเลื่อน ยิงหน้าไม้ การตีเหล็ก ชมพิพิธภัณฑ์ และกระบวนการผลิตผ้าใยกัญชง ชมศูนย์วัฒนธรรม ชมผ้าลายตัด ชมผ้าลายเขียนเทียน
• ชมกิจกรรมภาคกลางคืน ได้แก่ เต้นรำเด็กดอย การเป่าลิ้นทอง เป่าแคน การตำข้าวปุ๊ก (ขนมม้งเดิม)
• เดินชมสวนดอกเยอบีร่า กุหลาบ ผักซาโยเต้ และสวนลิ้นจี่
สินค้าเด่น :
• ปลอกหมอน ผ้าปักชาวเขา - ผ้าคลุมเตียง - ผ้าลายเขียนเทียน
• กระเป๋า , สร้อยข้อมือ, สร้อยข้อเท้า,เครื่องเงิน
ที่ตั้ง บ้านผานกกก
ตำบล โป่งแยง
อำเภอ แม่ริม
จังหวัด เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ 50180
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 085-7173030 081-0279279
การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้น 107 ทางไป อ.แม่ริม – แม่แตง ผ่านตลาดแม่ริมไปประมาณ 1กม. เลี้ยวซ้ายทางไป อ.สะเมิง ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง ตรงไปอีก 100 เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 4กม.
10 กรกฎาคม 2557 |
![]() | บ้านปงไคร้ก่อตั้งเมื่อไหร่ไม่ปรากฏหลักฐานแต่จากการบอกเล่าสืบกันมามีการเข้ามาอยู่อาศัยของชาวบ้านนานแล้วและประมาณปี พ.ศ.2551 ชาวบ้านที่นี่ได้จัดให้มีการบวชป่าเพื่อรักษาป่าไม้ต้นน้ำขึ้นจึงได้มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนเข้ามาร่วมกิจกรรมบวชป่าในครั้งนี้ และเมื่อหลายหน่วยงานเข้ามาเห็นป่าชุมชนบ้านปงไคร้ ต่างคนก็มีความคิดที่ค่อนข้างที่จะตรงกันว่าน่าจะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติ เพราะว่าเป็นป่าต้นน้ำที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ และมีพรรณไม้ที่หายากอยู่หลายชนิดอย่าง เช่น กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย และกล้วยไม้ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อีกหลายชนิด จนกระทั่งปีพ.ศ. 2553 ทางองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง ได้จัดให้มีการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในตำบลโป่งแยงขึ้น ทางชุมชนบ้านปงไคร้จึงได้บรรจุป่าอนุรักษ์ต้นน้ำปงไคร้เข้าในรายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปี พ.ศ. 2554 มีภาคเอกชนเข้ามาเสนอโครงการท่องเที่ยวเข้ากับชุมชนใช้ชื่อโครงการนี้ว่า กระรอกบิน ก็สร้างรายได้ให้กับชุมชนในระดับหนึ่ง โดยการเช่าพื้นที่ดำเนินการในชุมชน และจ้างงานในชุมชน แต่ปัจจุบันหมู่บ้านปงไคร้ได้มีผู้ประกอบการได้เปิดที่พักและรีสอร์ทขึ้นมาอยู่หลายที่ ทางชุมชนจึงมีความคิดร่วมกันว่าน่าจะเปิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยนำเอากิจกรรมที่ชุมชนทำประกอบอาชีพอยู่แล้วมาเป็นจุดขายเช่น
๑. โครงการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยซึ่งเป็นไม้ประจำถิ่น
๒. โครงการท่องเที่ยวหมู่บ้านเชิงเกษตรกรรม มีดอกเบญจมาศพริกหวาน สตรอเบอรี่
๓. โครงการท่องเที่ยวเดินป่า ดูพรรณไม้หายากเช่น กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยและพรรณไม้หายากอีกหลายชนิด
๔. โครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีประเพณีแห่ต้นแคร่ในวันลอยกระทง ประเพณีมัดมือเดือนเก้า
และมีสถานที่ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญโดยมีพระอุโบสถ สถาปัตยกรรมแบบล้านนาที่สวยงามมากและจากการที่ชุมชนบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมปล่อยต้นแม่พันธ์ฟ้ามุ่ยที่พร้อมออกดอกจำนวน 76 ต้น ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2551 ในป่าธรรมชาติไปแล้วนั้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ร่วมกับ ผศ.อุดม นวพานิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้จัดกิจกรรมเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เชิงอนุรักษ์ โดยสอนชาวบ้าน ให้เรียนรู้เทคนิคการเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งชาวบ้านได้ทดลองปฏิบัติจริง ทั้งการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยง การเพาะเมล็ด และการย้ายต้นกล้ากล้วยไม้ในตู้เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับกลุ่มชาวบ้านที่เข้ามาอบรมในครั้งนั้น เป็นอย่างยิ่ง ความมุ่งมั่น ในการเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกันอย่างจริงจัง นำ โดย คุณศิฐิณัฐ หลวงหล้าหรือพ่อนัย ประธานกลุ่ม ที่เป็นแกนนำ ไปขอความอนุเคราะห์ให้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ช่วยถ่ายทอดเทคนิคในการเพาะเลี้ยง
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ก็ได้รับงบประมาณให้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ฟ้ามุ่ยแบบบูรณาการ ประกอบไปด้วยการศึกษาวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาและชีววิทยา เพื่อให้เข้าใจการดำรงชีวิตของฟ้ามุ่ยในสภาพธรรมชาติ พร้อมทั้งศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของฟ้ามุ่ย และยังศึกษาผลของสารอาหารและสารเร่งการเจริญเติบโตของต้นกล้าฟ้ามุ่ย นอกจากนี้ยังทำ การศึกษาอัตราการอยู่รอดหลังปล่อยฟ้ามุ่ยในสภาพกึ่งธรรมชาติ เพื่อ เป็นแนวทางในการส่งเสริมและผลักดันให้เป็นหมู่บ้านฟ้ามุ่ย รองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต เป้าหมายของโครงการศึกษาวิจัยชุดนี้ คือ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืน โดยการสร้างองค์ความรู้เพื่อนำ ไปประยุกต์ใช ้ซึ่งมีหมู่บ้านปงไคร้ เป็นพื้น ที่นำ ร่องหมู่บ้านฟ้ามุ่ย กิจกรรมการทดลองนำต้นกล้าฟ้ามุ่ยที่ได้จากการเพาะเมล็ด ไปติดบนต้นไม้ในหมู่บ้าน 5 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มะขาม เฮือด ขนุน และไทร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 จำนวน 260 ต้น พบว่า อัตราการรอดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ค่อนข้างสูง คือ 98.48% เมื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดของ
ฟ้ามุ่ยบนต้นไม้แต่ละชนิดพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันใช้ให้เห็นว่าการติดบนต้นไม้ในหมู่บ้านปงไคร้ ซึ่งเป็นพื้น ที่ๆ อยู่ใกล้กับแหล่งที่อยู่อาศัยของฟ้ามุ่ยตามธรรมชาติได้ผลดี เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของฟ้ามุ่ย
นอกจากนี้ยังทำ การติดตามอัตราการรอดของต้นกล้าฟ้ามุ่ย ที่นำไปปล่อยในป่าดิบเขา บนต้นก่อแป้น ก่อเดือย แข้งกวาง เหมือดตบ เหมือดคน แคทราย เก็ดเขาควาย บริเวณศูนย์รวมพรรณไม้ที่สูงของสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พบว่า เมื่อนำไปติดบนต้นไม้ดังกล่าวตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ถึง มีนาคม 2554 มีอัตราการรอดเฉลี่ย 87.62% โดยฟ้ามุ่ยบนต้นเหมือดคน เหมือดตบ และเก็ดเขาควาย มีอัตราการรอดสูงสุดคือ 100%
หมู่บ้านปงไคร้แห่งนี้ มีกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ฟ้ามุ่ยที่หลากหลาย ได้แก่ การปล่อยต้นแม่พันธุ์ฟ้ามุ่ย เพื่อฟื้นฟูประชากรธรรมชาติ การเพาะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ การปลูกเลี้ยงต้นกล้าในโรงเรือน นอกจากนั้นกลุ่มชาวบ้านยังได้มีโอกาสไปร่วมงานนิทรรศการ เพื่อ เผยแพร่กิจกรรมของกลุ่ม รวมถึงมีกลุ่มนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาดูงาน อีกทั้งยังเสริมสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มชาวบ้าน โดยการนำต้นกล้ากล้วยไม้บางส่วนไปจำหน่าย นับเป็นการก้าวเดินไปสู่การเป็นหมู่บ้านฟ้ามุ่ย ที่มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
ข้อมูลจาก : http://www.qsbg.org/Database/Article/Image/vijai.pdf
10 กรกฎาคม 2557 |
1
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (11 รายการ)