ปลัด

สายตรงนายก

ร้องเรียนร้องทุกข์



คู่มือประชาชน

สำรวจความคิดเห็น

บริการปรึกษาข้อกฏหมายท้องถิ่น

Tourist Infomation Online

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่

ข่าวสารอาเซียน

ระบบบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุ

ตรวจเช็คอีเมล

ระบบจัดการบริหารเว็บไซต์

EGP

ชำระภาษี ของ ชม.



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 24/07/2557
วันนี้
27
เมื่อวานนี้
62
เดือนนี้
0
เดือนที่แล้ว
2,920
ปีนี้
13,642
ปีที่แล้ว
33,887
ทั้งหมด
179,972
ไอพี ของคุณ
18.207.240.77
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
 


 1.   ประวัติหน่วยงาน
   

      ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง เดิมเป็นสภาตำบลโป่งแยงและได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลโป่งแยง  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งสภาตำบล โป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 สภาพปัจจุบันขององค์การบริหารส่วนตำบล  ที่ตั้งและลักษณะชุมชน ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  มีพื้นที่  52.20  ตารางกิโลเมตรหรือ  32,625  ไร่  ครอบคลุมพื้นที่  ตำบลโป่งแยง ทั้งหมด  10  หมู่บ้าน
     
  โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลจะเป็นไปตามกฎหมายโดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย  ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นเป็นองค์กรทางการเมืองที่สำคัญสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน   กฎหมายได้กำหนดให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  มีสมาชิกได้  20 คน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี โดยทั่วไปแล้ว  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีหน้าที่และบทบาทเช่นเดียวกับฝ่ายนิติบัญญัติทั่วไป  กล่าวคือ หน้าที่ในทางนิติบัญญัติ ซึ่งได้แก่  การเสนอและการพิจารณาร่างข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบล  ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรงหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร  ได้แก่  การตั้งกระทู้ถาม  การเป็นกรรมการสภา  การเปิดอภิปรายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง มีประธานสภา  1 คน  รองประธานสภาอีก  1 คน  ประธานสภานอกจากหน้าที่โดยตรงในการเป็นประธานในที่ประชุมสภาแล้ว  ยังเป็นตำแหน่งที่มีเกียรตินับว่าเป็นคนสำคัญของท้องถิ่นคนหนึ่ง
       
     ฝ่ายบริหารหรือคณะผู้บริหาร  มีจำนวน  5  คน  ได้แก่  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  เลขานายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดให้รูปแบบขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทยทุกแห่งใช้แบบเดียวกันคือ  แบบคณะผู้บริหารและสภา การใช้แบบคณะรัฐมนตรีก็มาจากสภา  ซึ่งหมายถึงฝ่ายที่มีเสียงข้างมาก  ( Majority)  ในสภาได้  ระบบองค์การบริหารส่วนตำบลก็เช่นเดียวกันแบบที่ใช้กับองค์การบริหารส่วนตำบลก็ใช้แบบคณะผู้บริหารซึ่งคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลก็คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน 2 คน และเลขนุการองค์การบริหารส่วนตำบลอีก 1 คนรวมทั้งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีก 1 คน   ซึ่งโดยลักษณะเช่นนี้จะเป็นไปในทำนอง  รัฐบาลโดยระบบรัฐสภา   (Parliamentary System)

 

2. เครื่องหมายองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง



                               ตราเครื่องหมายองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  มีดังนี้

   สิงห์      หมายถึง  สัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่หน่วยงานสังกัด

   ช้าง      หมายถึง  สัญลักษณ์ของพลังประชาชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและในพื้นที่ที่มีช้างจำนวนมากในอดีต

   ดอกบัว  หมายถึง   สัญลักษณ์ของการเชิดชูคุณธรรมในการพัฒนาท้องถิ่น

   สายน้ำ   หมายถึง  สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำแม่สา

   

1.2 ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขต


    องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอแม่ริม และห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริม  ระยะทางประมาณ 16  กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 30 กิโลเมตรมีพื้นที่ทั้งสิ้น  52.20  ตารางกิโลเมตร  หรือ  ประมาณ  32,625  ไร่  จำแนกเป็น 
      
     องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
       ทิศเหนือ             ติดต่อกับ   ตำบลแม่แรม             อำเภอแม่ริม
                      ติดต่อกับ   ตำบลสะเมิงเหนือ        อำเภอสะเมิง
                       
ทิศใต้               ติดต่อกับ   ตำบลบ้านปง              อำเภอหางดง
 
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ    ตำบลแม่แรม             อำเภอแม่ริม
                              ติดต่อกับ   ตำบลสุเทพ                 อำเภอเมือง
 
ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ   ตำบลสะเมิงเหนือ/ใต้    อำเภอสะเมิง
 
             เดินทางโดยรถยนต์ถนนลาดยางสายเชียงใหม่  อำเภอแม่ริม - อำเภอสะเมิง   ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอแม่ริม ถึง เขตหมู่บ้านตำบลโป่งแยง 16 กิโลเมตร
 
 

แผนที่ตำบลโป่งแยง



ลักษณะภูมิประเทศ

 
     ตำบลโป่งแยงมีสภาพทางกายภาพทั่วไปเป็นภูเขา  บางส่วนเป็นที่ราบเชิงเขาและที่ราบพื้นที่บางส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยและแม่สา เป็นพื้นที่ป่าไม้ประมาณ  71.92 %และเป็นพื้นที่ราบเพาะปลูกประมาณ  23.10 % พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เนื่องจากมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่  ลิ้นจี่  พริกหวาน  ซาโยเต้ (ฟักแม้ว)  ดอกกุหลาบ  ดอกเบญจมาศ  สตรอเบอรี  หอมหัวใหญ่ คะน้าฮ่องกง  มะเขือเทศ  สลัดแก้ว ลักษณะภูมิอากาศที่หนาวเย็นนี้มีความเหมาะสมในการส่งเสริมอาชีพและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 
                     
 
       สภาพภูมิประเทศของตำบลโป่งแยง จำแนกได้ดังนี้
                     
3.1 สภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา  ซึ่งมีหมู่บ้านที่ตั้ง คือ  หมู่ที่  4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9,10
                     
3.2 สภาพภูมิประเทศที่เป็นที่ราบเชิงเขา  ซึ่งมีหมู่บ้านที่ตั้ง คือ  หมู่ที่ 1 , 3
                     
3.3 สภาพภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ ซึ่งมีหมู่บ้านที่ตั้ง คือ  หมู่ที่ 2
 
 

ลักษณะภูมิอากาศ

 
      ตำบลโป่งแยงมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดปี  มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม–มิถุนายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20 – 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม–ตุลาคมอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 18–27 องศาเซลเซียส และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 8–20 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี  20  องศาเซลเซียส   อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 26  องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 9 องศาเซลเซียส

         

1.3 ข้อมูลประชากร

 
      ประชากรที่อาศัยอยู่ในตำบลโป่งแยงมีทั้งชาวไทยพื้นราบและชาวไทยเผ่าม้ง  จำนวนประชากรแยกตามเพศและอายุ และลักษณะโครงสร้างประชากรโดยทั่วไป มีดังนี้
 
ครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  รวมทั้งสิ้น    2,652   ครัวเรือน  
ความหนาแน่นเฉลี่ย  50.80  ครัวเรือนต่อตารางกิโลเมตร   ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง รวมทั้งสิ้น  10,079  คน
ความหนาแน่นเฉลี่ย   193  คนต่อตารางกิโลเมตร  (ข้อมูล ณ  เดือนมีนาคม  2553)
                             
แยกเป็นเพศชาย        จำนวน       5,102   คน
                             
แยกเป็นเพศหญิง        จำนวน       4,977   คน

จำนวนประชากรและครัวเรือน แยกได้ดังนี้

จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุได้ดังนี้ (จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จริง ณ วันที่ 1 เมษายน 2554)
                                            

1.5 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

 
              1. ทรัพยากรน้ำ  ได้แก่
                            -ห้วยแม่สา
                            -ห้วยบวกจั่น
                            -ห้วยต้นเดื่อ
                            -ห้วยช้างตาย
                            -ห้วยบวกหมู
                            -ห้วยปงอั้น
                            -ห้วยสุวรรณ
                            -ห้วยสุวรรณ
                            -ห้วยปางหมี
                            -ห้วยแม่กำปอง
                            -ห้วยแม่สาใหม่

                2.ทรัพยากรป่าไม้   ได้แก่
                             -ป่าเต็งรัง
                             -ป่าเบญจพรรณ

                3.แหล่งน้ำ
                             1.หนองบึง                       3    แห่ง
                             2.คลอง   ลำธาร   ห้วย      15    แห่ง
                             3.บ่อน้ำ                         20    แห่ง
                             4.ถังเก็บน้ำฝน                 20    แห่ง
                  - บ่อน้ำตื้น                      จำนวน   61  บ่อ
                  - บ่อบาดาลส่วนบุคคล        จำนวน   10  บ่อ
                 - บ่อบาดาลสาธารณะ          จำนวน     8  บ่อ
                 - ระบบประปาหมู่บ้าน          จำนวน     8  บ่อ
                 - ระบบชลประทาน             จำนวน     2  บ่อ
                 - ลำเหมือง,คลอง              จำนวน   15  สาย



1.6 สาธารณูปโภคและสภาพทางเศรษฐกิจ  
ข้อมูลด้านสาธารณูปโภค

 
1. อัตราการใช้ส้วมราด  100 % 
2. มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน
3. มีโทรศัพท์พื้นฐานถึงทุกหมู่บ้าน
4. มีระบบประปาหมู่บ้าน 1 หมู่บ้านและมีระบบประปาภูเขา 9 หมู่บ้าน
 
โครงสร้างพื้นฐาน
- ถนน คสล./ลาดยาง        จำนวน        48,000  เมตร
- ถนนดินลูกรัง                จำนวน          1,500  เมตร
 
การโทรคมนาคม
- โทรศัพท์สาธารณะ              จำนวน          15   เครื่อง
- โทรศัพท์ใช้ในบ้าน              จำนวน        686   ครัวเรือน
- อินเทอร์เน็ต                      จำนวน          85   ครัวเรือน
- โทรศัพท์เคลื่อนที่               จำนวน     4,904   ครัวเรือน
- วิทยุสื่อสารความถี่สังเคราะห์  จำนวน           20  เครื่อง
 
การไฟฟ้า
ผู้ใช้ไฟฟ้า      จำนวน    10  หมู่บ้าน  (ครบทุกครัวเรือน) 
- หมู่ที่ 1 – 10  ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเชียงใหม่  อำเภอแม่ริม
 
สถานที่สาธารณะประโยชน์
- ฌาปนสถาน            จำนวน           10  แห่ง
- ศาลาประชาคม         จำนวน           10  แห่ง
 
หน่วยธุรกิจ
- สถานีบริการน้ำมัน/ปั๊มน้ำมันหลอด     จำนวน      10   แห่ง
- ร้านเสริมสวย/ตัดผมชาย                จำนวน         7   แห่ง
- โรงงานรับซื้อผลผลิตเกษตร            จำนวน         1   แห่ง
- ร้านบริการให้เช่า VCD                 จำนวน         -    แห่ง
- ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า                  จำนวน         2   แห่ง
- โรงงานน้ำดื่ม                            จำนวน          2   แห่ง
- ตลาดนัดสินค้า                           จำนวน          7   แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน/คลินิก        จำนวน          2    แห่ง
- ร้านจำหน่ายแก๊สหุงต้ม                 จำนวน       13    แห่ง
- รีสอร์ท/โรงแรม                         จำนวน        13    แห่ง
- ร้านจำหน่าย/ซ่อมรถ                   จำนวน          9    แห่ง
- ร้านขายของชำ                         จำนวน        105   แห่ง

  

1.7. การสาธารณสุข 

 
       พื้นที่ตำบลโป่งแยงมีประชากรอาศัยอย่างหนาแน่น มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 1 แห่ง คือ  โรงพยาบาลชุมชน มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานดังนี้ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข  จำนวน  1  คน  นักวิชาการสาธารณสุข  จำนวน  0  คน เจ้าพนักงานสาธารณสุข 2 คน  ลูกจ้าง  3  คน  พยาบาลวิชาชีพ  1  คน อาสาสมัครสาธารณสุข   จำนวน  189  คน ให้บริการด้านการแพทย์  และการสาธารณสุขโดยเฉพาะงานส่งเสริมสุขภาพ  งานป้องกันและควบคุมโรค    งานรักษาพยาบาลและงานฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกชุมชนมีผู้ป่วยนอกมารับบริการโดยเฉลี่ย  1,000  คน/เดือน 
 



1.8 การเกษตร อุตสาหกรรม ปศุสัตว์

การรวมกลุ่มภายในตำบล/OTOP/ผลิตภัณฑ์
- กลุ่มแม่บ้าน              จำนวน   10  กลุ่ม
- กลุ่มเกษตรกร            จำนวน   10  กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์           จำนวน   10  กลุ่ม
- กลุ่มเยาวชน              จำนวน   10  กลุ่ม
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ไผ่หวาน  จำนวน     1  กลุ่ม
- กลุ่มผู้สูงอายุ              จำนวน   10  กลุ่ม
 
การรวมกลุ่มของประชาชน  แยกประเภทกลุ่มดังนี้
      -กลุ่มอาชีพ   13   กลุ่ม   ได้แก่
                1.กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์  ข้าวเกรียบพริกหวาน  ซาโยเต้    หมู่ 1
                2.กลุ่มแปรรูปผลผลิต  สตอเบอรี่     หมู่2
                3.กลุ่มจักสาน                          หมู่ 2
                4.กลุ่มผลิตแหนม  หมูยอ             หมู่ 3
                5.กลุ่มผลิตน้ำดื่มบุผาสวรรค์          หมู่ 3
                6.กลุ่มจักสานไม้ไผ่                    หมู่3
                7.กลุ่มทำเครื่องเงิน                   หมู่ 6
                8.กลุ่มแปรรูปสมุนไพรบวกจั่น        หมู่ 7
                10.กลุ่มผู้ผลิตผ้าลายตัด              หมู่ 9
                11.กลุ่มผู้ผลิตผ้าลายเขียนเทียน     หมู่9
                12.กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า                 หมู่9
                13.กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร(ลิ้นจี่อบแห้ง)   หมู่ 10
 
 

1.9 แหล่งท่องเที่ยว

 
โรงแรม/รีสอร์ท 15 แห่ง
       - ภูอิงฟ้ารีสอร์ท
       - โป่งแยงฟาร์มรีสอร์ท
      - คุ้มรักแก้ว แอนทีค รีสอร์ท
      - แม่สาวาเล่ย์รีสอร์ท
      - ปานวิมานสปาแอนด์รีสอร์ท
      - ปงไคร้ลอดจ์
      - โป่งแยงแอ่งดอย
      - พราวภูฟ้า
      - บ้านม่อนม่วนรีสอร์ท
      - กังสดาลรีสอร์ท
      - ภูหมอกดาว
      - บ้านธุลีฟ้ารีสอร์ท
      - ปงไคร้บ้านดอยรีสอร์ท
      - บ้านปีกไม้
      - ม่อนฮัก
 
บ้านพักนักท่องเที่ยวชุมชน 3 แห่ง
      - โฮมสเตย์บ้านแม่สาใหม่
       - บ้านสวนไร่รัชชานันท์ (บ้านพักนักท่องเที่ยวชุมชน)
       - โป่งแยงโฮมสเตย์
       - บ้านกองแหะโฮมสเตย์
 
สถานที่ท่องเที่ยว/แหล่งเรียนรู้ 27 แห่ง
      - โครงการหลวงแม่สาใหม่
      - หน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา (น้ำตกห้วยดีหมี)
      - ถ้ำผาต๊ะ
      - สวนเกษตร เช่น พริกหวาน  สตอรเบอรี่  ซาโยเต้  ดอกกุหลาบ  ดอกเยอบีร่า  มะเขือเทศ ฯลฯ
      - บ้านสวนทูนอิน
      - หน่วยจัดการต้นน้ำ (ปงไคร้)
     - ดอยผาฆ้องผากลอง(เส้นทางตามรอยเสด็จฯ)
     - รอยพระพุทธหัตถ์ถ้ำผาต๊ะ
     - สำนักสงฆ์ห้วยผาปู
     - หมู่บ้านอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยท้องถิ่นบ้านปงไคร้
     - สำนักสงฆ์คูหาวารี
     - มวยไทยเม้าท์เท็นแคมป์
     - ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านชนเผ่าม้งบ้านแม่สาใหม่ (พิพิธภัณฑ์ม้ง,ป่าดงเซ้งโรงสี 
        พระราชทาน,ต้นไม้ของพ่อ,ป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ,บ้านปางขมุ)
     - บ้านผานกกก การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม (กิจกรรมทางวัฒนธรรม/พิพิธภัณฑ์ม้ง)
     - กระรอกบินบ้านปงไคร้ ( Tree Top Flight)
     - อุทยานแห่งชาติบ้านบวกเต๋ย (ทะเลหมอก)
     - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย
     - วัดโป่งแยงเฉลิมพระเกียรติ
     - วัดปงไคร้ (เจดีย์ศรีชลกร)
     - วัดปางลุง
     - บ้านปางลุง ป่าอนุรักษ์
     -  ศูนย์สาธิตการพัฒนาและรณรงค์ การใช้หญ้าแฝกด้านป่าไม้ที่ 1 (แม่จะ)
     - บ้านกองแหะโฮมสเตย์ (แหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร ธนาคารอาหาร ธรรมชาติ ป่าไม้)
     - โครงการพระราชดำริ เกษตรวิชญา
     - ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ทุ่งเรา(บ้านบวกจั่น)
     - สำนักสงฆ์บวกจั่น
     - สำนักสงฆ์โป่งแยงนอก

1.10 จุดบริการประชาชน



1.11 สภาพทางสังคม


1. การศึกษา 
       ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  มีสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.จำนวน 13แห่ง ระดับที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ดังนี้
 
      จากสภาพทางการศึกษาที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  ตำบลโป่งแยง มีสถานศึกษาของรัฐ 13  แห่ง
 
2. การศาสนา
          ประชากรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 61  ศาสนาคริสต์ ร้อยละ38.90  และศาสนาอิสลามร้อยละ 0.1  เมื่อพิจารณาถึงข้อมูลทั่วไปทางการศาสนา  และวัฒนธรรมจะพบว่ามีศาสนสถานทั้งสิ้น  15  แห่ง  ซึ่งมีดังนี้
 
 
3. วัฒนธรรมและประเพณี
         ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง ประชาชนที่อยู่อาศัยมีหลากหลายชาติพันธุ์  ดังนั้นวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ จึงหลากหลายมีวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญและมีลักษณะการดำรงชีพที่แตกต่างกัน  แต่ละประเพณีก็มีความโดดเด่นเป็นอเกลักษณ์ของตนเอง  ซึ่งประเพณีที่สำคัญได้แก่ 
 
-    เดือนธันวาคม/มกราคมหรือเดือนสิบสอง ตามการนับเดือนของชาวม้ง มีประเพณีที่โดดเด่นคือประเพณีปีใหม่ม้ง
 
-    เดือนเมษายนหรือเดือนเจ็ด ตามการนับเดือนของชาวล้านนา คือประเพณีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ/บุคคลที่นับถือ
 
-    เดือนพฤษภาคม/มิถุนายนหรือเดือนแปด/เดือนเก้า  ตามการนับเดือนของชาวล้านนา คือประเพณีการสรงน้ำพระธาตุ
 
-    เดือนพฤษภาคม/มิถุนายนหรือเดือนแปด/เดือนเก้า  ตามการนับเดือนของชาวล้านนา คือประเพณีการตานก๋วยสลาก   
 
-    เดือนพฤศจิกายนหรือเดือนยี่ ตามการนับเดือนของชาวล้านนา คือประเพณียี่เป็งหรือการลอยกระทง