ปลัด

สายตรงนายก

ร้องเรียนร้องทุกข์



ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

แบบสำรวจ

ลงทะเบียนสถานประกอบการที่พัก

คู่มือประชาชน

สำรวจความคิดเห็น

บริการปรึกษาข้อกฏหมายท้องถิ่น

Tourist Infomation Online

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงใหม่

ข่าวสารอาเซียน

ระบบบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุ

ตรวจเช็คอีเมล

ระบบจัดการบริหารเว็บไซต์

EGP

ชำระภาษี ของ ชม.



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 24/07/2557
วันนี้
67
เมื่อวานนี้
93
เดือนนี้
3,928
เดือนที่แล้ว
5,252
ปีนี้
36,824
ปีที่แล้ว
33,887
ทั้งหมด
203,154
ไอพี ของคุณ
3.239.2.192
ประวัติความเป็นมา
 
 

ประวัติความเป็นมา

 
       ความเป็นมาแต่โบราณกาล  คำว่า  “โป่งแยง”   มาจากไหน  ในหลักฐานประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกไว้  ได้ทราบจากคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบกันมาว่า  ตำบลโป่งแยง เป็นตำบลเก่าแก่ตำบลหนึ่ง ของอำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งจะได้เห็นได้จากซากอิฐวัดร้างหลายแห่งในตำบลนี้  คือ วัดร้างกลางทุ่งหนองแดง หมู่ที่1บ้านโป่งแยงในดงชาวแม้วทางเข้าเอราวัณรีสอร์ท หมู่ที่ 2 บ้านโป่งแยงนอกปัจจุบันเป็นศาลเจ้ามีซากอิฐวัดร้างวัดใหม่ศรีม่วงคำด้านล่างและอุโบสถเก่าแก่บ้านหลวงกับซากอิฐบริเวณบ้านดงฝั่งตะวันตกของบวกเขียด หมู่ที่ 3  บ้านม่วงคำ ซากอิฐวัดร้างถ้วยประทีป  ซากถ้วยโถโอชาม  โบราณวัตถุแตกหักบริเวณสวนเมี่ยงชา   หมู่ที่ 8 บ้านปางลุง  ซากอิฐโบราณวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่าตำบลโป่งแยงเก่าแก่มานานนับ  400  ปีขึ้นไป  ซึ่งจะตั้งหมู่บ้านโป่งแยงนี้หลังการตั้งเมืองเชียงใหม่  อายุราว  600 กว่าปี  ตำบลโป่งแยงแต่เดิมมีเพียงสองถึงสามหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเรียกว่า  พ่อหมื่น  ต่อมาได้ตั้งเป็นตำบลแม่ฮะ อำเภอหางดง มีกำนันคนแรกเรียกว่า  พ่อขุนเท้า และได้ย้ายมาขึ้นกับตำบลสะเมิงใต้  อำเภอสะเมิง จนกระทั่งได้เป็นตำบลโป่งแยงขึ้นกับอำเภอแม่ริมจนถึงปัจจุบัน  คำว่าหมื่น ท้าว ขุน พระยา ถ้าจะเทียบกับปัจจุบัน หมื่น คือ  ผู้ใหญ่บ้าน ท้าว คือ กำนัน ขุน คือ นายอำเภอ  พระยา  คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด  ทางภาคเหนือเรียกผู้ใหญ่บ้านว่า พ่อหลวง เรียกกำนันว่า พ่อแคว่น  คือผู้ปกครองแคว้นแดนดินแห่งหนึ่ง 
             
 
        คำว่า  “โป่งแยง”   ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่าในอดีตกาลเมืองเชียงใหม่ถูกข้าศึกศัตรูยกทัพมารุกราน รบราฆ่าฟันแย่งชิงเอาบ้านเมืองเพื่อต้องการเอาเป็นเมืองขึ้น  เพราะเชียงใหม่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหารมาแต่โบราณกาล  เมื่อเกิดสงครามรบราฆ่าฟันกันบ่อย  ขุนนางเจ้าสร้อยดอกพร้าวจึงได้อพยพครอบครัวจากเชียงใหม่มาตั้งบ้านเรือนหนึ่งหลังอยู่ด้วยกัน 7 หม้อข้าวหรือ 7 ครอบครัวปลูกบ้านหลังเดียวขนาดใหญ่  เรียกว่า  “บ้านหลวง” ซึ่งอยู่ในเขตหมู่ที่ 3  ตำบลโป่งแยง
             
 
       ชาวบ้านเรียกติดปากกันว่า  บ้านหลวง  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของตำบลโป่งแยง  ขุนนางเจ้าสร้อยดอกพร้าว  เป็นผู้มีวรรณโฉมสวยงามผิวขาวเนียนหาผู้ใดเทียบไม่ได้  ท่านได้ปักฐานอยู่บริเวณบ้านหลวง  ท้าวพระยาผู้ครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองน้อยใหญ่  ในประเทศลานนาสมัยนั้นทราบกิตติศัพท์ขุนนางเจ้าสร้อยดอกพร้าว ผู้เลอโฉมยิ่งนัก  ต่างหลั่งไหลพากันมาผ่อมาแยง (มาดู)  โดยที่ขุนนางเจ้าสร้อยดอกพร้าว  ท่านเบื่อศึกสงคราม อยากมาอยู่ที่สงบสันติ หลบภัยสงครามการเมือง ไม่อยากจะพบท้าวขุนพระยาเมืองเล็กเมืองใหญ่เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้ปลอมตัวเป็นชาวบ้านเข้ามาผ่อมาแยงจึงได้ชื่อตำบลโป่งแยงสมัยนั้น เป็นตำบล  “ปลอมแยง” ต่อมาเปลี่ยนเป็นตำบล  “ป่องแยง”  และปัจจุบันเปลี่ยนเป็นตำบล  “โป่งแยง”  ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งที่น่ามาผ่อมาดูหรือมาแยง คำว่า  “แยง” แปลว่า ดู  ซึ่งเหมาะสมกับชื่อในปัจจุบันซึ่งใคร ๆ ก็อยากมาดูมาแยงความงามของสตรีและแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ 
               
           
   อีกประการหนึ่งในสมัยโบราณการต่อสู้รบทัพจับศึกของเมืองเชียงใหม่  ได้เคลื่อนย้ายพลทหารจำนวน  1,400  คน เข้ามาในตำบลโปงแยงที่ห้วยปันสี่  ตรงข้ามสวนพฤษศาสตร์ภาคเหนือ กรมป่าไม้  ในปัจจุบันเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างตำบลโป่งแยงกับตำบลแม่แรม และเจ้าเมืองเชียงใหม่ยังเคลื่อนย้ายทหารเข้ามาในเขตตำบลโป่งแยง ตั้งค่ายพักแรมที่บ้านโป่งแยงนอกจำนวนหนึ่งแสนคน เรียกว่า ม่อนพระยาแสน ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าตำบลโป่งแยงเป็นเมืองหนึ่งของเชียงใหม่ที่น่าเที่ยวซึ่งไม่ห่างไกลจากเมืองเชียงใหม่เท่าใดนัก
        
 
     องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการจัดตั้งเป็นสภาตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่10 ธันวาคม  พ.ศ.2499  และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  7  มกราคม  พ.ศ.2500 ต่อมากระทรวงมหาดไทยประกาศให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเนื่องจากมีฐานะการคลังเพียงพอที่จะบริหารงานประจำขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113  ตอนพิเศษ   52 ง  ลงวันที่  25  ธันวาคม พ.ศ. 2539   โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นมา และตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสภาตำบล  เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  จึงได้เปลี่ยนแปลงฐานะการปกครองเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยงตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์  2540